จามบ่อยๆ เป็นโรคอาการของอะไร ??
อาการโรคภูมิแพ้อากาศ ได้แก่ อาการจามบ่อยๆ น้ำมูกใส คัดจมูก อาจเป็นช่วงใดช่วงหนึ่งของวัน หรือช่วงที่ไปรับสารที่แพ้ อาการร่วมอาจมีอาการคันตา คันคอ และเพดานปาก เสมหะลงคอ อาการที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูกที่พบบ่อยคือ ไอเรื้อรัง ปวดศีรษะบ่อยๆ กระแอม นอนกรน หายใจมีกลิ่นปาก
สาเหตุของอาการจาม อาการจามเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นกับจมูก โดยจมูกมีหน้าที่กรองอากาศที่หายใจเข้าไปให้ปราศจากสิ่งสกปรกและเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งส่วนใหญ่สิ่งสกปรกและแบคทีเรียจะถูกดักจับไว้ในน้ำมูกและถูกย่อยโดยกรดในกระเพาะ แต่ในบางครั้งสิ่งสกปรกก็สามารถผ่านเข้าไปภายในจมูกและทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณเยื่อเมือกในจมูกและคอจนทำให้เกิดอาการจาม
โดยปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการจาม ได้แก่
- สิ่งกระตุ้นจากสภาพแวดล้อม เช่น ฝุ่น ควัน มลภาวะทางอากาศต่าง ๆ สภาพอากาศแห้งหรือเย็น การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ละอองเกสรดอกไม้ เชื้อรา สะเก็ดผิวหนังของสัตว์ และการรับประทานอาหารรสเผ็ด
- โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยจามอย่างต่อเนื่องและจามบ่อย
- เป็นหวัดหรือไข้หวัดจากการติดเชื้อไวรัส
- การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาพ่นจมูกคอร์ติโคสเตียรอยด์
- จามจากการเกิดปฏิกิริยาหลังสัมผัสกับแสงสว่างจ้า (Photic Sneeze Reflex)
- เกิดการบาดเจ็บที่จมูก
- การถอนยาบางชนิด เช่น ยากลุ่มโอปิออยด์
ภาวะแทรกซ้อนของอาการจาม
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นร่วมกับการจามเป็นไปตามสาเหตุของการป่วยด้วย เช่น
- โรคหวัด หากป่วยรุนแรง อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ไซนัสอักเสบ โรคหืดกำเริบ หลอดลมอักเสบ ติดเชื้อในหู และปวดบวม
- โรคภูมิแพ้ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ผื่นผิวหนัง หากเกิดการแพ้อย่างรุนแรง อาจมีความดันโลหิตต่ำ หายใจหอบเหนื่อย หรือหมดสติ
- โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หูช้ั้นกลางอักเสบ โพรงจมูกอักเสบ และริดสีดวงจมูก
- ไข้หวัดใหญ่ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดบวม
คำแนะนำเรื่อง โรคภูมิแพ้อากาศ
- 1) ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโรค
พรงจมูกอักเสบจากโรคภูมิแพ้ เป็นโรคภูมิแพ้ชนิดที่พบบ่อยที่สุดในคนไทย อุบัติการณ์ประมาณ ร้อยละ 20-40 ของประชากร
อาการโรคภูมิแพ้อากาศ ได้แก่ อาการจามบ่อยๆ น้ำมูกใส คัดจมูก อาจเป็นช่วงใดช่วงหนึ่งของวัน หรือช่วงที่ไปรับสารที่แพ้ อาการร่วมอาจมีอาการคันตา คันคอ และเพดานปาก เสมหะลงคอ อาการที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูกที่พบบ่อยคือ ไอเรื้อรัง ปวดศีรษะบ่อยๆ กระแอม นอนกรน หายใจมีกลิ่นปาก
“ แพ้อากาศ ” หมายถึงการแพ้อะไร ในความเป็นจริงแล้วจากการแพ้สารในอากาศ ไม่ได้เป็นจากอากาศโดยตรง สารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อย คือ ไรฝุ่น รองลงมา คือ แมลงสาบ และละอองเกสรหญ้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่และการได้รับสารกระตุ้นในแต่ละช่วงอายุ
ปัจจัยที่ทำให้มีอาการภูมิแพ้ ส่วนใหญ่พบมี 3 ปัจจัย คือ
- กรรมพันธุ์ พบว่า ถ้าคุณพ่อ และคุณแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกที่เกิดมามีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ 50-70%
2. สภาพแวดล้อม ถ้าอาศัยอยู่ในที่มีสารก่อภูมิสูง มีโอกาสเป็นได้มากกว่า ทั้งนี้สารก่อภูมิแพ้เข้าสู่ร่างกาย
3. สาเหตุเสริมอื่นๆ ได้แก่ ระคายเคือง โดยเฉพาะควันบุหรี่ การติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ การได้รับโปรตีนแปลกปลอม
ในช่วงอายุที่ไม่เหมาะสม
- 2) การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วย/ผู้ทีความเสี่ยง
การดูแลรักษาภูมิแพ้
- หลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยควรพยายามหลีกเลี่ยงสารที่ทราบว่าตนเองแพ้ เพื่อที่จะให้อาการเกิดน้อยลง
และใช้ยาน้อยลงด้วย
2. การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และการพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้ผู้ป่วยมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น
3. การรักษาด้วยยา หรือยาต้านฮีสตามีน มี 2 กลุ่ม
3.1 การให้ยาแก้แพ้
3.1.1 ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มเก่า มีข้อควรระวัง คือ มักจะทำให้เกิดอาการง่วงซึม และมีอาการข้างเคียง เช่น ปากแห้ง
คอแห้ง ตาพร่า ใจสั่น
3.1.2 ยาต้านฮีสตามีนกลุ่มใหม่ มีข้อดี คือ ไม่ทำให้ง่วง อาการข้างเคียงน้อยลงไม่ต่างจากการให้เม็ดแป้ง ออกฤทธิ์ไ
นานกว่าซึ่งทำให้ไม่ต้องกินยาบ่อย ๆ ส่วนมากวันละ 1-2 ครั้งก็พอ
3.2 ยาลดอาการคัดจมูก จะลดอาการบวมของเยื่อบุจมูก ทำให้ช่องจมูกโล่งขึ้น
3.3 ยาสเตอรอยด์ เป็นยาที่ช่วยลดอาการบวมของเยื่อบุจมูก รวมไปถึงอาการอักเสบภายในช่องจมูก อาการคัดแน่นจมูก
คัน จามได้ดี ทั่วไปมักจะใช้ในรูปแบบพ่นเข้าจมูกโดยตรง
4. การฉีดยารักษาภูมิแพ้ ด้วยวัคซีน การรักษาด้วยวิธีนี้ต้องทำการทดสอบสารก่อภูมิแพ้ว่าแพ้ตัวไหนก่อน ( skin test )
หลังจากนั้นก็ทำการฉีดสารก่อภูมิแพ้ที่ทดสอบแล้วเข้าไปในร่างกายของผู้ป่วยทีละน้อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ต้องใช้เวลานานจึงเห็นผล (ประมาณ 3-5 ปี) และต้องให้ผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้รักษา
- 3) การป้องกันไม่ให้เกิดโรค
1. สระผมของคุณก่อนเข้านอนทุกคืน โดยเฉพาะในฤดูที่มีเกสรดอกไม้ปลิวว่อนในอากาศ
2. อย่าตากเสื้อผ้า และเครื่องนอน (ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน) ไว้กับราวตากผ้ากลางแจ้งในฤดูที่มีเกสรดอกไม้ปลิวว่อนในอากาศ เพราะเกสรดอกไม้และเชื้อราจะเกาะติดกับผ้าที่ตากได้
3. ล้างมือทันทีหากไปเล่นกับสัตว์เลี้ยงหรือให้อาหารมัน
4. เปิดไฟในตู้เสื้อผ้าตลอดเวลา เพื่อลดจำนวนเชื้อราภายในตู้
5. ไม่ควรนำตุ๊กตาที่ยัดไส้ด้วยนุ่น หรือใยสัตว์ไว้ในห้องนอน
6. ช่วงสาย ๆ ไปจนถึงตอนบ่าย เป็นช่วงที่มีเกสรดอกไม้ปลิวว่อนไปทั่ว ซึ่งจะก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้ง่าย
7. จงเปลี่ยนเสื้อผ้านอกห้องนอน เพื่อทิ้งสิ่งที่อาจทำให้คุณแพ้ไว้นอกห้องนอน
8. ถอดเสื้อผ้า และซักทันที หากคุณไปเยี่ยมเยียนเพื่อนที่มีสัตว์เลี้ยง
9. ห่อหุ้มหมอน และฟูกในผ้าพลาสติกแล้วปูทับด้วยผ้าฝ้าย
10. ใช้เครื่องปรับความชื้นในห้องที่อับชื้นมาก ๆ เพื่อลดจำนวนเชื้อรา ความชื้นที่พอเหมาะควรมีค่าอยู่ระหว่าง 25-50%
11. เลิกใช้พรมปูพื้นห้อง เปลี่ยนพื้นห้องเป็นไม้ หรือกระเบื้อง ซึ่งจะทำความสะอาดได้ง่ายกว่า
12. ถ้าคุณแพ้ผึ้ง หรือมดตะนอย ก็จงหลีกเลี่ยงการสวมเสื้อสีสด ๆ การฉีดสเปรย์ผม การใช้น้ำหอมดับกลิ่นตัว หรือการใส่น้ำหอม รวมทั้งการปิกนิก หรือการตั้งวงปิ้งอาหารรับประทานนอกบ้าน
13. เปลี่ยนเครื่องเรือนที่บุด้วยนุ่น หรือตกแต่งด้วยขนสัตว์มาเป็นเครื่องเรือนที่ทำจากพลาสติก ไม้ โลหะ หรือหนังสัตว์ ซึ่งจะไม่เก็บกักสิ่งที่อาจทำให้คุณแพ้
14. ในการทำความสะอาดบ้าน จงอย่าใช้ไม้ขนไก่ หรือไม้กวาด แต่จงใช้ผ้า หรือไม้ถูพื้นที่ได้ชุบน้ำแล้ว
15. เลือกใช้เครื่องดูดฝุ่นที่มีน้ำเป็นตัวกักฝุ่น และมีแผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูง
16. สวมผ้าปิดจมูก และปากเสมอ เพื่อกันฝุ่นในขณะที่คุณทำความสะอาดบ้าน
17. อย่ารีบเข้าไปในห้องที่เพิ่งทำความสะอาดเสร็จ ควรรออย่างน้อย 20 นาทีก่อน เพื่อให้ฝุ่นผงที่ล่องลอยอยู่ในอากาศตกลงสู่พื้นให้หมด
18. ถ้าคุณมีสัตว์เลี้ยงคุณต้องป้องกันอากาศมิให้พัดจากนอกบ้านเข้ามาในห้องนอนของคุณ
19. ทำความสะอาดบริเวณที่มีราขึ้นด้วยน้ำยาฟอกคลอรีน โดยผสมผงคลอรีน 10 ส่วน ต่อน้ำ 1 ส่วน
20. ห้ามทุกคนรวมทั้งแยกสูบบุหรี่ในบ้าน หากจุสูบให้สูบนอกบ้าน
21. วานคนที่ไม่แพ้ ทำความสะอาดกรงของสัตว์เลี้ยง
22. ถ้าคุณจะออกกำลังกายกลางแจ้ง ก็ขอให้ทำในช่วงเช้า ๆ บ่ายแก่ ๆ หรือตอนเย็น ๆ
23. ปิดหน้าต่างรถของคุณให้สนิท แล้วเปิดเครื่องปรับอากาศภายในรถให้ไหลเวียน
24. ไม่ใช้พัดลม เพราะจะพัดเอาเกสรดอกไม้ และเชื้อราเข้ามาในบ้าน รวมทั้งไม่ใช้เครื่องทำความเย็นชนิดอังด้วยน้ำ เพราะจะทำให้ห้องชื้น
25. หากคุณปิดบ้านไว้นาน เชื้อราอาจจะเจริญเติบโตได้ ดังนั้นเมื่อคุณกลับมาอยู่บ้านอีกครั้งหนึ่ง คุณควรเปิดบ้านให้ลมโกรม และทำความสะอาดอย่างดีเสียก่อน
26. ตรวจสอบว่ามีอะไรในบ้านบ้างที่เป็นแหล่งเพาะเชื้อรา เมื่อพบแล้วจงกำจัดให้หมด แหล่งเพาะเชื้อราที่อาจเป็นได้ เช่น ในเครื่องทำความชื้นบนพรมที่เปียกชื้น บนพื้นห้องที่ผุ ในถังขยะ บนกระดาษปิดฝาผนังที่เปียกชื้น เป็นต้น
27. เมื่อคุณใช้เครื่องดูดฝุ่น จงเลือกใช้ถุงเก็บฝุ่นชนิดถุงหนา 2 ชั้น และแผ่นกรองอากาศประสิทธิภาพสูง
28. เมื่อคุณจะไปเที่ยวพักผ่อนในที่ใด ๆ ก็ตาม จงเลือกสถานที่ ๆ มีฝุ่นละออง หรือเกสรดอกไม้น้อย เช่น ชายทะเล
29. ถ้าคุณคิดว่าอาหารบางอย่างทำให้คุณแพ้ ก็อย่าลืมปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะลงมือเปลี่ยนรายการอาหารอย่างถอนรากถอนโคน
30. อ่านฉลากผลิตภัณฑ์อาหารที่คุณซื้อเสมอ เพื่อดูว่ามีส่วนผสมอะไรบ้าง ส่วนผสม เช่น นม ไข่ ถั่ว อาจทำให้คุณแพ้ก็ได้
31. พกบัตรที่แสดงข้อความว่าคุณเป็นโรคภูมิแพ้ หรือโรคหอบหืดอย่างรุนแรงไว้เสมอ
32. เลือกที่จะมีสัตว์เลี้ยงที่ไม่มีขน เช่น ปลา เต่า แทนการเลี้ยงแมว หรือสุนัข
33. ล้างมือ ผิวหนัง เสื้อผ้า สัตว์เลี้ยง หรืออะไรก็ตามที่เปื้อนยางต้นไม้
34. ถ้าคุณต้องการพ่นยาฆ่าแมลง จงเลือกใช้น้ำยาที่คุณไม้แพ้ คุณควรอยู่นอกบ้าน และวานให้คนอื่นพ่นยาฆ่าแมลงให้ เมื่อพ่นยาเสร็จแล้วคุณควรเปิดบ้านให้ลมโกรกสัก 2-3 ชั่วโมง ก่อนที่จะกลับเข้าบ้าน
35. ทำความสะอาดห้องน้ำ ครัว และห้องใต้ดินบ่อย ๆ เพื่อลดจำนวนเชื้อราภายในบ้าน เพราะห้องเหล่านี้มีความชื้นสูง
36. หลีกเลี่ยงการใช้เตาที่เผาไหม้ด้วยไม้ เพราะควันไฟอาจทำให้คุณแพ้ได้
37. สอบถามครูที่โรงเรียน เพื่อหาสาเหตุที่ทำให้ลูกของคุณแพ้ เช่น มีสัตว์เลี้ยงในห้องเรียนหรือไม่ มีแมลงสาบในตู้เก็บของหรือไม่ มีตัวไรฝุ่นในพรมปูพื้นหรือไม่
38. เปิดเครื่องดูดควันเสมอเมื่อคุณทำอาหาร เพื่อลดความชื้น และกำจัดควัน และกลิ่นอาหาร
ขอบคุณที่มา : www.bangkokhatyai.com