ผู้ป่วยเบาหวานกิน “มะม่วง” ได้ไหม กินแบบไหนไม่เสี่ยงน้ำตาลพุ่ง
มะม่วงเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูงซึ่งอาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด แต่ด้วยใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ และค่าดัชนีน้ำตาลที่ต่ำทำให้มะม่วงอาจไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดอย่างรวดเร็ว แต่หากรับประทานเป็นประจำ ระดับน้ำตาลในเลือดก็อาจเพิ่มสูงขึ้นได้ ดังนั้นการทานมะม่วงควรอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ เลือกทานมะม่วงสุกที่มีเนื้อสีเหลือง หลีกเลี่ยงมะม่วงที่สุกจนเนื้อเละ และทานคู่กับอาหารอื่นๆ เพื่อชะลอการดูดซึมน้ำตาล
ผู้ป่วยเบาหวานทานมะม่วงได้หรือไม่
มะม่วงเป็นหนึ่งในผลไม้เขตร้อนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก ด้วยเนื้อสีเหลืองสดใส รสชาติหวานเป็นเอกลักษณ์ มะม่วงจัดเป็นผลไม้ที่ปลูกพัฒนาพันธุ์มาอย่างยาวนานในเขตร้อนของเอเชีย แอฟริกา และอเมริกากลาง ปัจจุบันมีการปลูกมะม่วงทั่วโลก หลายคนสงสัยว่ามะม่วง ซึ่งมีน้ำตาลธรรมชาติอยู่สูง เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือไม่
มะม่วงจัดเป็นผลไม้ที่มีสารอาหารมากมาย เต็มไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น เหมาะสำหรับการนำไปปรับสมดุล เสริมสร้างโภชนาการให้กับทุกๆ รูปแบบการรับประทานอาหาร รวมถึงผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยมะม่วงมีสารอาหารต่อไปนี้
- พลังงาน
- โปรตีน
- ไขมัน
- คาร์โบไฮเดรต
- น้ำตาล
- ใยอาหาร
- วิตามินซี:
- ทองแดง:
- โฟเลต:
- วิตามินเอ
- วิตามินอี:
- โพแทสเซียม
นอกจากนี้ มะม่วงยังมีแร่ธาตุสำคัญอื่น ๆ อีกเล็กน้อย เช่น แมกนีเซียม แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก และสังกะสี
ส่งผลต่อน้ำตาลในเลือดน้อย
แม้ว่าน้ำตาลจะเป็นแหล่งพลังงานหลักของมะม่วง (คิดเป็นกว่า 90% ของแคลอรีทั้งหมด) ซึ่งอาจส่งผลต่อการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานได้ แต่ทว่าในขณะเดียวกัน มะม่วงก็ยังมีใยอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระหลากหลายชนิด ซึ่งสารอาหารทั้งสองกลุ่มนี้มีส่วนช่วยในการลดผลกระทบโดยรวมต่อน้ำตาลในเลือด
ใยอาหารช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด ส่วนสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดภาวะความเครียดที่เกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น คุณสมบัติเหล่านี้ส่งผลให้ร่างกายสามารถจัดการกับปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่เข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ดัชนีน้ำตาลในเลือด (GI) ของมะม่วง
ดัชนีน้ำตาลในเลือดเป็นเครื่องมือที่ใช้จัดอันดับอาหารตามผลกระทบต่อน้ำตาลในเลือด โดยใช้สเกล 0-100 ค่า 0 แทนไม่มีผล และ 100 แทนผลกระทบที่คาดว่าจะได้รับจากการกินน้ำตาลบริสุทธิ์ อาหารใดที่มีค่า GI ต่ำกว่า 55 จัดว่าเป็นอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลในเลือดต่ำ เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน มะม่วงมีค่า GI อยู่ที่ 51 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลในเลือดต่ำ
อย่างไรก็ตาม แต่ละคนอาจมีการตอบสนองต่ออาหารแตกต่างกัน แม้ว่ามะม่วงจะเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่ดีต่อสุขภาพ แต่ก็ควรสังเกตอาการหลังรับประทานเพื่อประเมินผลกระทบต่อระดับน้ำตาลในเลือดของแต่ละบุคคล เพื่อกำหนดปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการนำมะม่วงมาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการรับประทานอาหาร
เคล็ดลับทานมะม่วงอย่างปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการทานมะม่วง มีวิธีการหลายประการที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ดังนี้
1.รับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
แม้ว่าคาร์โบไฮเดรตจากอาหารทุกชนิด รวมถึงมะม่วง อาจส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราต้องตัดมะม่วงออกจากแผนการรับประทานอาหารไปเสียทีเดียว โดยทั่วไป ปริมาณคาร์โบไฮเดรต 1 หน่วยบริโภค จะอยู่ที่ประมาณ 15 กรัม
2.เพิ่มแหล่งโปรตีน
เช่นเดียวกับใยอาหาร โปรตีนก็สามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อทานคู่กับอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง มะม่วงมีใยอาหารตามธรรมชาติ แต่ปริมาณโปรตีนไม่สูงมากนัก
ดังนั้น การทานมะม่วงควบคู่กับแหล่งโปรตีน อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการทานมะม่วงเพียงอย่างเดียว
สำหรับมื้ออาหารหรือของว่างที่สมดุลมากขึ้น ลองทานมะม่วงคู่กับไข่ต้ม ชีส หรือถั่ว
ตัวอย่างการทานมะม่วงควบคู่กับแหล่งโปรตีน
- มะม่วง 1/2 ถ้วย + ไข่ต้ม 1 ฟอง
- มะม่วง 1/2 ถ้วย + โยเกิร์ตกรีก 1 ถ้วย + อัลมอนด์ 1 หยิบมือ
- มะม่วง 1/2 ถ้วย + พาร์เมซานชีส 2 ช้อนโต๊ะ + สลัดผัก
- มะม่วง 1/2 ถ้วย + อกไก่ย่าง 1 ชิ้น
ข้อควรระวัง: ควรเลือกโปรตีนที่มีไขมันอิ่มตัวต่ำ เพื่อสุขภาพที่ดี
ข้อมูล sanook.com