รากฟันเทียม

17 มีนาคม 2022 0 Comments

รากฟันเทียม รากเทียม คำที่คุ้นหู ที่หลายคนเข้าใจผิดว่าจะต้องทำกับคนที่มีอายุมากแล้วเท่านั้น อาจจะรู้สึกว่าไกลตัว มาทำความรู้จัก และ ประสิทธิภาพของรากฟันเทียมว่ามีจุดเด่น และ สามารถรักษาฟันแบบไหนได้บ้าง

การสูญเสียฟันเเท้นั้นเป็นปัญหาที่ส่งผลระยะยาวเเละไม่มีใครอยากให้เกิด เเต่เราสามารถรักษาได้ด้วยการ ทำรากเทียม ค่ะ ซึ่งปัจจุบันต้องยอมรับว่าเป็นฟันปลอมที่ดีที่สุด มีความเป็นธรรมชาติไม่ต่างจากฟันแท้ ทั้งยังสามารถทำได้แทบทุกคน คุณหมอชี้เเจงไขข้อข้องใจสำหรับใครที่มีความกังวลหรือสงสัย ให้เข้าใจกันการทำรากฟันเทียมกันมากขึ้นกันค่ะ

สรุปหัวข้อสำคัญเกี่ยวกับ รากฟันเทียม  ซ่อน 
  1. 1. รากฟันเทียม คือ อะไร
  2. 2. รากฟันเทียมทำจากอะไร
  3. 3. ส่วนประกอบของ รากฟันเทียม
  4. 4. หลักการทำงานของรากเทียม
  5. 5. รากฟันเทียมเหมาะกับใคร
    1. 5.1. ใครควรใส่รากฟันเทียม
  6. 6. ใครที่ไม่เเนะนำให้รักษาด้วยการทำรากเทียม
  7. 7. ข้อดีของรากฟันเทียม
  8. 8. ข้อจำกัดของรากฟันเทียม
  9. 9. ทำรากฟันเทียม เจ็บไหม ?
  10. 10. การทำรากฟันเทียม มีระยะพักฟื้นนานมั้ย
  11. 11. ประเภท ของ รากฟันเทียม
    1. 11.1. การฝังรากเทียมแบบธรรมดา Conventional implant
    2. 11.2. การฝังรากเทียมแบบทันที (Immediate Implant)
    3. 11.3. การเชื่อมต่อส่วนของฟันปลอม Immediate Loaded Implant
  12. 12. รูปแบบการทำรากฟันเทียม
  13. 13. เตรียมตัวอย่างไรก่อนไปทำรากเทียม
  14. 14. รากฟันเทียมมีขั้นตอนการทำอย่างไร
  15. 15. อาการหลังรักษารากฟัน
  16. 16. วิธีดูเเลฟันหลังทำ รากฟันเทียม
  17. 17. คำถามที่พบบ่อยๆเรื่องการทำรากฟันเทียม

รากฟันเทียม คือ อะไร

รากฟันเทียม หรือ ทันตกรรมรากเทียม (dental implant) คือ การแก้ปัญหาการสูญเสียฟันแท้ที่หลุดไปด้วยการผ่าตัด ฝังโครงรากฟันเทียมเพื่อยึดติดกับกระดูกขากรรไกรของคนไข้ ตรงตำแหน่งที่สูญเสียฟันเเละรากฟันธรรมชาติไป จากนั้นทันตแพทย์อาจจะทำฟันปลอม หรือครอบฟันมายึดติดกับราก ทดแทนฟันที่หลุดไป เพื่อให้ฟันบดเคี้ยวได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่าฟันจริง

รากฟันเทียม
ลักษณะของการทำ รากฟันเทียม

ขณะที่การทำฟันปลอมแบบอื่น ๆ อาจจะพบปัญหาเรื่องความไม่เป็นธรรมชาติ มีการเคี้ยวอาหารที่ติดขัดอยู่บ่อยๆ รากฟันเทียมเป็นทันตกรรมฟันปลอมแบบติดแน่นที่มีคุณสมบัติเหมือนฟันธรรมชาติ จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุด ที่ช่วยทำให้ฟันยังคงอยู่ครบ ทานอาหารได้ราบรื่นกว่า ไม่ต้องวุ่นวายถอดฟันปลอม และดูแลทำความสะอาดได้ง่ายแสนง่ายไม่ต่างจากฟันแท้ของเรา โดยเฉพาะถ้าได้รับการดูแลรักษารากฟันเทียมด้วยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ก็จะยิ่งทำให้คุณทานอาหารได้ง่าย พูดคุย และยิ้มได้อย่างมั่นใจ

ฝังรากเทียม
ฝังรากเทียม

รากฟันเทียมทำจากอะไร

รากฟันเทียมผลิตจากไทเทเนียมบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นวัสดุที่ออกแบบมาเพื่อให้เข้ากับร่างกายมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ใช้ฝั่งเพื่อยึดติดกับกระดูกขากรรไกร ทดแทนรากฟันธรรมชาติ รากฟันเทียมจะยึดติดกับตัวครอบฟันที่ทำจากวัสดุเซรามิก ให้รูปลักษณ์เหมือนกับตัวฟันตามธรรมชาติ

ส่วนประกอบของ รากฟันเทียม

รากฟันเทียมประกอบด้วยส่วนหลักๆ 3 ส่วน ดังนี้

  1. Screw : ส่วนที่ฝังอยู่ใต้เหงือก
    มีลักษณะเป็นสกรูทำจากไทเทเนียมนี้ ทำหน้าที่เป็นรากฟัน ยึดตัวฟันเทียมให้มั่นคงเเข็งเเรง ด้วยการฝังเข้าไปในกระดูกขากรรไกร
  2. Abutment : ส่วนที่อยู่ระหว่างรากฟันเทียม (Screw) เเละครอบฟัน (Crown)
    ทำหน้าที่ทดแทนโครงสร้างของแกนฟัน เพื่อรองรับตัวครอบฟัน มักยึดติดส่วนนี้ไว้ด้วย Screw
  3. Crown : ส่วนของตัวฟัน
    ทำมาจากเซรามิก ลอกเลียนสีและรูปร่างของฟันธรรมชาติเป็นส่วนที่ใช้บดเคี้ยวอาหารโดยตรง
ส่วนประกอบรากฟันเทียม

หลักการทำงานของรากเทียม

รากเทียมจะทำงานร่วมกับกระดูกขากรรไกร เมื่อทั้งสองอย่างประสานกันได้สนิทแล้ว จะทำให้เกิดการรองรับฟัน ส่งผลให้ฟันปลอมหรือที่ยึดฟันปลอม ที่ทำงานร่วมกับรากเทียมไม่เลื่อนหรือลื่นออกจากจุดที่ต้องการ ซึ่งจะมีประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะตอนที่พูดและรับประทานอาหาร การฝังรากเทียมนี้ ช่วยในการทำฟันปลอม การครอบฟัน และที่ยึดฟันปลอมบนรากเทียม ให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติมากกว่าฟันปลอมหรือการทำฟันปลอมแบบธรรมดา

การทำงานรากฟันเทียม
การทำงานรากฟันเทียม

เพราะในคนไข้หลายคน การทำฟันปลอมหรือที่ยึดฟันปลอมแบบธรรมดาไม่ได้ให้ความรู้สึกสบาย อาจมีบางจุด ที่ทำให้เจ็บ นูน หรือยื่นออกมา บางครั้งอาจมีความรู้สึกคลื่นไส้ร่วมด้วย นอกจากนั้นการที่ยึดฟันปลอมแบบธรรมดาต้องใช้ติดกับฟัน หรือช่องว่างของฟันที่เหลือจากฟันที่หายไป

ฟันปลอมแบบทั่วไป

ประโยชน์ของการทำรากเทียมอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ต้องกรอฟัน เพื่อที่จะเตรียมแนบสะพานฟันให้ติดกับฟัน แต่สามารถเจาะลึกลงไปในฟันที่จะแทนที่ได้เลย

การเตรียมตัวสำหรับการฝังรากฟันเทียม คนไข้จำเป็นจะต้องมีสุขภาพเหงือกที่แข็งแรง และมีกระดูกมากเพียงพอที่จะรองรับรากฟัน ดังนั้นต้องรักษาสุขภาพของเหงือก และกระดูกให้สมบูรณ์ ด้วยการดูแลความสะอาดของช่องปากอย่างละเอียดถี่ถ้วน และไปพบทันตแพทย์ตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะทำให้การฝังรากฟันมีอายุการใช้งานได้นานยิ่งขึ้น

สุขภาพเหงือกกับการทำรากฟันเทียม

รากฟันเทียมเหมาะกับใคร

  • ผู้ที่สูญเสียฟันแท้จากอุบัติเหตุ
  • ผู้ที่มีฟันแตก หัก ซึ่งควรได้รับการถอนฟันจากทันตแพทย์ และทำรากฟันเทียมเพื่อทดแทนฟันที่เสียไป
  • เหงือกบริเวณที่จะทำการปลูกรากฟันเทียม ไม่มีการอักเสบหรือติดเชื้อ ซึ่งอาจส่งผลให้การปลูกรากฟันเทียมล้มเหลวได้
  • ผู้ที่ทำฟันปลอมแบบถอดได้ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
  • ผู้ที่ต้องการใส่ฟันเพียงซี่เดียว โดยฟันข้างเคียงยังอยู่ในสภาพดี
  • ผู้ที่ใส่ฟันปลอมทั้งปากแต่ประสบกับปัญหากระดูกขากรรไกรล่างยุบตัวลงมาก ทำให้ฟันปลอมหลุดได้ง่าย ซึ่งการฝังรากฟันเทียมจะช่วยยึดฟันปลอมให้แน่นขึ้น
  • ผู้ที่ไม่ต้องการกรอฟันในการทำสะพานฟันติดแน่น
  • ผู้ที่ไม่ชอบใส่ฟันปลอมแบบถอดได้
ผู้ที่เหมาะกับรากฟันเทียม

ใครควรใส่รากฟันเทียม

รากฟันเทียมสามารถทำได้ในคนไข้ที่สูญเสียฟันเเท้ไปทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟันที่อยู่บริเวณด้านหน้า หรือฟันที่ไม่สามารถใช้ฟันซี่อื่นๆบริเวณข้างๆได้ ก็จะเหมาะสมกับการทำรากเทียม เเต่เเนะนำว่าคนไข้ควร อายุตั้งเเต่ 18 ปีขึ้นไป เนื่องจากเด็กที่ยังอายุไม่ถึง 18 ปี กระดูกขากรรไกรยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่

ใครที่ไม่เเนะนำให้รักษาด้วยการทำรากเทียม

  • ผู้หญิงที่มีภาวะตั้งครรภ์อยู่ ควรทำหลังคลอดเสร็จเรียบร้อยเเล้ว
  • คนไข้ที่มีโรคประจำตัวแต่ควบคุมไม่ได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็งที่ต้องรับการรักษาด้วยการฉาายรังสีบริเวณใบหน้าเเละช่องปาก โรคปริทันต์อักเสบรุนเเรง โรคลูคิเมีย โรคไฮเปอร์ไทรอยด์
  • คนไข้ที่มีอาการอื่นๆ ที่การรักษาอาจจะไม่ได้ผลดี เช่น ผู้ป่วยที่ต้องรับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ที่สูบบุหรี่ผู้ป่วยที่มีอาการไขข้ออักเสบรุนเเรง

ข้อดีของรากฟันเทียม

หลังปลูกรากฟันเทียมไปสักระยะเเล้ว รากฟันจะยึดเข้ากับกระดูกขากรรไกร มีการเข้ากับเนื้อเยื่อในช่องปากได้ดี ข้อดีที่เป็นจุดเด่นของรากฟันเทียมคือ ฟันปลอมแบบยึดติดเเน่น ที่ทำหน้าที่คล้ายฟันธรรมชาติมากที่สุด

  • ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหาร ทำงานได้ดีไม่ต่างจากฟันธรรมชาติ
  • ไม่ใช่เเค่สวยงามใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติ เเต่ให้ความรู้สึกเหมือนฟันธรรมชาติมากกว่าฟันปลอมแบบอื่น
  • ไม่มีปัญหากับการออกเสียง เมื่อเทียบกับฟันเทียมชนิดอื่น ๆ
  • ป้องกันการสูญเสียฟันและกระดูกข้างเคียง
  • ดูแลทำความสะอาดง่าย เสริมสร้างสุขภาพช่องปาก
  • เมื่อร่วมกับฟันเทียมแบบถอดได้ หมดปัญหาฟันเทียมขยับระหว่างพูดคุย หรือรับประทานอาหาร
  • มีความคงทนถาวร
  • ไม่ต้องกรอแต่งฟันข้างเคียง
  • ช่วยเพิ่มความมั่นใจ และทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • มีความปลอดภัยสูง เเละสามารถใช้รักษาร่วมกับสะพานฟันเเละครอบฟัน สำหรับคนไข้ที่มีฟันแท้เหลือน้อย หรือผู้ที่ต้องการทำฟันปลอมได้อีกด้วย
รีวิวก่อน-หลัง การรักษารากฟันเทียม
รีวิวก่อน-หลัง การรักษารากฟันเทียม

ข้อจำกัดของรากฟันเทียม

  1. ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับฟันปลอมแบบอื่น
  2. การทำรากฟันเทียม มีการผ่าตัดเเละใช้เวลาในการรักษานานกว่าฟันปลอมเเบบอื่น เพราะต้องรอให้กระดูกยึดเข้ากับรากเทียม
  3. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่างไม่ทำรากเทียมได้ ควรปรึกษาทันตแพทย์
  4. กรณีที่สูญเสียฟันไปเป็นระยะเวลานึงเเละจะมีอาการกระดูกขากรรไกรยุบ หรือกระดูกละลายตัว การทำรากเทียมอาจได้ฟันปลอมที่ไม่สวยเหมือนธรรมชาติ

ทำรากฟันเทียม เจ็บไหม ?

90% ของการทำรากฟันเทียมจะทำภายใต้ยาชาเฉพาะที่ จึงรู้สึกเจ็บเพียงเล็กน้อยขณะฉีดยาชา แต่เมื่อยาชาออกฤทธิ์เต็มที่คนไข้จะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดเลย ส่วนอาการเจ็บปวดภายหลังการผ่าตัดจะมากน้อยแตกต่างกันไป ซึ่งเกิดจากความแตกต่างของลักษณะสันกระดูก ปริมาณของกระดูก และคุณภาพของเนื้อเยื่อเหงือกในบริเวณที่รับการรักษา

ในรายที่มีปริมาณกระดูกเพียงพอ กระดูกมีคุณภาพดี การฝังรากฟันเทียมทำได้ง่าย มีความเจ็บปวดใกล้เคียงกับการถอนฟัน และใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1-2 วันเท่านั้น

ส่วนกรณีคนไข้มีกระดูกรองรับรากเทียมไม่เพียงพอ หรือมีเนื้อเยื่อเหงือกที่คุณภาพไม่ดี ต้องมีขั้นตอนการผ่าตัดเสริมกระดูก หรือเสริมเนื้อเยื่อเหงือก ก็จะมีระยะการพักฟื้นที่นานกว่า

การทำรากฟันเทียม มีระยะพักฟื้นนานมั้ย

ปกติการทำรากเทียมใช้เวลาพักฟื้นเพียง 1-2 วันเท่านั้น ถ้าคนไข้มีกระดูกรองรับรากเทียมไม่เพียงพอ หรือมีเนื้อเยื่อเหงือกที่คุณภาพไม่ดี ต้องมีขั้นตอนการผ่าตัดเสริมกระดูก หรือเสริมเนื้อเยื่อเหงือก ก็จะมีระยะการพักฟื้นที่นานกว่า

ประเภท ของ รากฟันเทียม

รากฟันเทียมแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ

  • Conventional implant
  • Immediate implant
  • Immediate loaded implant

การฝังรากเทียมแบบธรรมดา Conventional implant 

การฝังรากเทียมแบบธรรมดา ใช้ได้ในคนไข้ที่ทำรากฟันซี่เดียวเเละหลายซี่ ในการฟื้นฟูรากฟันแบบถาวรนี้ มีขั้นตอนการรักษา 2 ช่วง คือ เมื่อทันตแพทย์ฝังรากเทียมเเล้วต้องรอให้กระดูกยึดกับรากเทียมก่อนใช้เวลาราวๆ 3 เดือน หลังจากนั้นจึงจะติดฟันปลอมเข้ากับรากเทียมได้

วิธีการปลูกถ่ายแบบธรรมดานี้ถือว่ามีข้อจำกัดในการรักษาน้อย สามารถรักษาได้ครอบคลุมทุกสภาพกระดูก เเต่กรณีที่มีการสูญเสียกระดูกระดับปานกลางจนถึงขั้นรุนแรงในบริเวณที่จะต้องฝังรากฟันเทียม ทันตแพทย์จะเเนะนำให้ปลูกกระดูกก่อน

Conventional Implant
Conventional Implant

การฝังรากเทียมแบบทันที (Immediate Implant)

การฝังรากเทียมแบบทันที ใช้ระยะเวลาในการปลูกถ่ายเพียงแค่หนึ่งวัน เป็นการใส่รากฟันเทียมในเวลาเดียวกันหลังจากถอนฟัน ข้อดีของการปลูกถ่ายแบบทันที คือลดขั้นตอนและระยะเวลาการรักษาลง ทำให้การละลายของกระดูก และโอกาสการเกิดเหงือกร่นลดลงด้วย

โดยทั่วไปการปลูกถ่ายแบบทันทีนี้จะเหมาะสำหรับคนไข้ที่มีสภาพกระดูกขากรรไกรที่สมบูรณ์ดี ตำแหน่งฟันที่เหมาะสำหรับวิธีการนี้คือ ฟันหน้า หรือฟันกรามน้อย ต้องไม่มีพยาธิสภาพที่ปลายรากฟันที่จะถอน และจำเป็นต้องมีปริมาณกระดูกเพียงพอให้รากฟันเทียมยึดด้วย

ฝังรากเทียมแบบทันที Immediate Implant
Immediate Implant

การเชื่อมต่อส่วนของฟันปลอม Immediate Loaded Implant

การเชื่อมต่อส่วนของฟันปลอม เช่น การทำครอบฟันแบบชั่วคราวหรือแบบถาวร หลังจากฝังรากเทียมที่บริเวณกระดูกขากรรไกรเเล้ว อุปกรณ์ฟันปลอมแบบใส่ได้ทันทีจะเหมาะกับคนไข้ที่มีสภาพกระดูกขากรรไกรดี

Immediate Loaded Implant
Immediate Loaded Implant

รูปแบบการทำรากฟันเทียม

ทันตแพทย์สามารถเลือกรูปแบบการรักษาด้วยรากฟันเทียม ช่วยในการใส่ฟันทดแทนให้กับคนไข้ได้หลายวิธี เช่น

– กรณีที่มีฟันหายเพียง 1 หรือ 2 ซี่ การใส่ฟันเทียมแบบติดแน่นทำได้ 2 วิธี คือการทำรากฟันเทียม และสะพานฟัน แต่การทำรากฟันเทียมเป็นวิธีใส่ฟันที่ได้ผลดีที่สุด และยังมีข้อดีมากกว่าการใส่สะพานฟัน เพราะไม่ต้องกรอฟันข้างเคียง ทำความสะอาดได้ง่ายกว่า ส่วนวิธีสะพานฟัน จะมีส่วนครอบของฟันติดกันทั้งหมด ทำให้หากมีซี่ใดซี่หนึ่งมีปัญหา จะต้องรื้อออกทั้งหมด ในฟันที่ไม่แข็งแรงการใส่สะพานฟันอาจทำอันตรายต่อฟันหลักยึดได้

– กรณีที่ฟันหายไป 1 ซี่ในหลายตำแหน่ง สามารถใส่ฟันเทียมเพื่อรองรับครอบฟันได้ หรือหากมีฟันหายหลายซี่ติด ๆ กัน ทันตแพทย์ก็สามารถทำการฝังรากฟันเทียมเพื่อรองรับสะพานฟันได้ ซึ่งมีข้อดีคือสามารถลดจำนวนรากฟันเทียมลง หรือใช้ในบริเวณที่ไม่สามารถฝังรากฟันเทียมเท่ากับจำนวนฟันที่หายไปได้

– กรณีที่มีฟันหายไปเป็นจำนวนมาก โดยรากฟันเทียมจะช่วยให้ฟันเทียมแบบถอดได้แน่นขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องใส่ตะขอฟันปลอม หรือทำให้ส่วนของเหงือกปลอมสั้นลง

– ทดแทนฟันที่หายไปทั้งปาก รากฟันเทียมสามารถช่วยทดแทนฟันได้ทั้งแบบติดแน่น และแบบถอดได้ โดยแบบติดแน่นทันตแพทย์จะทำการฝังรากเทียมจำนวน 4, 6 หรือ 8 ตัวต่อ 1 ขากรรไกร ส่วนแบบถอดได้จะฝังรากฟันเทียมจำนวน 2-4 ตัว

เตรียมตัวอย่างไรก่อนไปทำรากเทียม

  • ก่อนจะเข้ารับการรักษาด้วยรากฟันเทียม คุณต้องได้รับการตรวจและประเมินโดยละเอียดจากทันตแพทย์เฉพาะทาง หรือทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาในภายหลัง อีกทั้งทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังสามารถเลือกรากเทียมที่เหมาะสมกับคนไข้ มีความเข้าใจในขั้นตอนของการทำทันตกรรมประดิษฐ์
  • ในกรณีที่คนไข้มีโรคประจำตัว มียาที่ต้องรับประทานเป็นประจำ มีประวัติการแพ้ยา ต้องแจ้งท้นตแพทย์ก่อนทำการผ่าตัด
  • กรณีที่มีประวัติเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ หรือเปลี่ยนข้อเทียม อาจจำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ ก่อนการรักษาในบางกรณี จึงควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบล่วงหน้า
  • วางแผนการรักษาร่วมกับทันตแพทย์ทั้งเรื่องชนิดของรากฟันเทียม หรือฟันเทียมที่เลือกใช้ในแผนการรักษา เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

รากฟันเทียมมีขั้นตอนการทำอย่างไร

ขั้นตอนการทำรากฟันเทียม ไม่ว่าจะเป็นเพื่อทดแทนฟันหนึ่งซี่ฟันหรือหลายซี่ที่หายไป มีขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

  1. ทันตแพทย์จะตรวจสภาพช่องปากอย่างละเอียด
    ด้วยการ X-ray แบบพาโนรามา เเละ CT Scan เพื่อประเมินความหนาของกระดูกขากรรไกรและเนื้อเยื่อบนสันเหงือก อาจทำการพิมพ์ปากเพื่อวางแผนการรักษา และกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมของรากฟันเทียม
  2. การเตรียมพื้นที่สำหรับการฝังรากเทียม
    การฝังรากฟันนั้นทันตแพทย์จะตรวจสอบสภาวะกระดูกเเละการติดเชื้อ เพื่อเตรียมพื้นที่ให้เหมาะการฝังรากฟัน ถ้ามีการติดเชื้อต้องทำการรักษาก่อน อาจใช้เวลาตั้งเเต่ 2-3 สัปดาห์ – 2 เดือน
    ถ้ามีสภาวะที่โครงสร้างกระดูกไม่เพียงพอกับการทำรากฟันเทียม อาจจะต้องปลูกถ่ายกระดูกเพิ่มก่อน เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพ
  3. การวางรากเทียม
    เทันตแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ จากนั้นทำการผ่าตัดฝังรากฟันเทียมลงไปในกระดูกขากรรไกร เย็บปิดแผล ประมาณ 7-14 วันจะตัดไหมที่เย็บออก รออีก 3-4 เดือนเพื่อให้รากฟันเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรอย่างสมบูรณ์
  4. ระยะฟื้นฟูหลังผ่าตัดฝังรากเทียมเสร็จ
    รากฟันเทียมจะผสานกับกระดูกขากรรไกร หากใส่รากฟันเทียมแบบทันที (Immediate Implant) สามารถดำเนินการรักษาตามขั้นตอนที่ 5 ต่อได้ กรณีที่ไม่ได้ใส่รากฟันเทียมแบบทันที ต้องรอให้รากฟันเทียมเชื่อมต่อกับกระดูกประมาณ 2 ถึง 6 เดือน ก่อนที่จะทำขั้นตอนที่ 5
    หลังจากเย็บแผล 7 – 10 วัน ทันตแพทย์จะนัดเพื่อทำการตัดไหม
  5. คุณหมอติดตั้งวัสดุที่เป็นหลักยึด (Abutment)
    มีลักษณะเป็นแกนโลหะหัวกลมๆติดอยู่กับรากฟันเทียม เมื่อมีการเลือกครอบฟันหรือสะพาน จะมีวัสดุค้ำนี้เพื่อรองรับครอบฟันหรือสะพาน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่นี้ ตัวรากฟันเทียมรวมเป็นชิ้นเดียวกับวัสดุหลักยึดเลย
  6. ใส่เครื่องมือที่ช่วยสร้างร่องเหงือก
    จากนั้นอีก 1-2 สัปดาห์ จะทำการพิมพ์ปากเพื่อส่งทำครอบฟัน
  7. ทันแพทย์ติดตั้งครอบฟันหรือสะพานฟัน หรือ Overdenture
    ไว้กับโลหะที่เป็นหลักยึดดังกล่าวด้วยสารยึดติดทางทันตกรรม

    หลังการผ่าตัดฝังรากเทียมคนไข้ก็จะมีฟันที่สวยงาม มีประสิทธิภาพในการใช้งานไม่ต่างจากฟันธรรมชาติ

อาการหลังรักษารากฟัน

  • คนไข้อาจมีการปวดบวมภายหลังการผ่าตัดอาจเกิดขึ้นได้ประมาณ 5-7 วัน ไม่ต้องกังวลนะคะ ให้รับประทานยาที่ได้รับอย่างต่อเนื่อง ก็จะทำให้แผลหายได้เป็นปกติ
  • กรณีที่มีอาการผิดปกติภายหลังการผ่าตัด 1-2 วัน เช่น มีหนอง มีไข้ มีอาการชาบริเวณคาง ริมฝีปาก หรือลิ้น ปวดบวมรุนแรงหรือมีเลือดออกบ่อย ให้กลับมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบอาการทันที
ดูเเลฟันหลังทำ รากเทียม
ดูเเลฟันหลังทำรากเทียม

วิธีดูเเลฟันหลังทำ รากฟันเทียม

ช่วงหลังจากฝังรากเทียมใหม่ๆ ควรปฏิบัติตัวดังนี้

  1. รับประทานเฉพาะอาหารเหลวก่อนในช่วงวันแรก เพื่อหลีกเลี่ยงเศษอาหารปนเปื้อนแผล สามารถรับประทานอาหารกึ่งเหลว หรืออาหารบดในช่วงวันที่ต่อๆมาได้
  2. หลีกเลี่ยงการกัดหรือเคี้ยวอาหารแข็งหรือเหนียวเกินไป ช่วง 1-2 เดือน เพื่อป้องกันแรงกระแทกที่จะเกิดขึ้นกับรากเทียมที่เพิ่งฝังเข้าไป
  3. หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อนหรือเย็นมากในวันแรกหลังการผ่าตัด
  4. อาการบวมหลังผ่าตัดถือเรื่องเป็นเรื่องปกติ สามารถรับประทานยาที่ได้รับอย่างต่อเนื่องเพื่อลดอาการอักเสบ
  5. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  6. คนไข้สามารถดูเเลรักษาความสะอาดของฟันได้ตามปกติ เหมือนฟันธรรมชาติ แปรงฟันให้ถูกวิธี ใช้ไหมขัดฟันกำจัดเศษอาหารตามซอกฟัน
  7. แนะนำให้ใช้น้ำยาบ้วนปากล้างน้ำยาฆ่าเชื้อ ตามที่คุณหมอสั่ง
  8. พบทันตแพทย์ตามนัดทุกครั้ง และทำตามคำแนะนำของคุณหมออย่างสม่ำเสมอ
  9. หากมีพฤติกรรมขบเคี้ยวฟัน หรือนอนกัดฟัน ควรพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขภาวะดังกล่าว

คำถามที่พบบ่อยๆเรื่องการทำรากฟันเทียม

รากฟันเทียม ทำไมมีราคาแพง ราคาค่อนข้างสูงเพราะอะไร

ค่ารักษาที่สูง มาจากวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ปลูกรากเทียมนั้นมีหลายส่วน ต้องใช้เครื่องมือทางทันตกรรมเฉพาะทางที่มีความละเอียดสูง นำเข้าจากต่างประเทศ ดูเเลภายใต้ทันตแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางรากฟันเทียม

กรณีไหนที่ต้องมีการปลูกกระดูกร่วมกับการทำรากเทียม

ในคนไข้ที่มีกระดูกไม่เพียงพอที่จะสามารถฝังรากเทียม ตามขนาดที่เพียงพอสำหรับรับแรงบดเคี้ยว

รากฟันเทียม มีอายุการใช้งานกี่ปี

รากเทียมมีความทนทานเเละใช้งานได้เหมือนกันฟันจริง อายุการใช้งานของรากฟันเทียมนั้นอยู่ได้นานถึง 10 – 20  ปี หรือนานกว่านั้น อยู่ที่การดูเเลรักษาความสะอาดให้ดีอย่างสม่ำเสมอ

การดูเเลฟันหลังทำรากเทียม

การรักษาฟันด้วยการทำรากเทียม มีข้อดีคือ ทำความสะอาดง่าย เนื่องจากยึดติดไม่ต่างจากฟันจริง ดังนั้นจึงมีความแข็งแรงที่มาก การแปรงฟัน หรือทำความสะอาดอื่นใดจึงเป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย ไม่ต้องคอยประคับประคอง หรือถอดเข้าถอดออกบ่อยครั้งเหมือนฟันปลอมแบบอื่น ๆ

ถ้าไม่ทำรากเทียมหรือใส่ฟันปลอมจะมีผลอย่างไร

เมื่อคนไข้สูญเสียฟันเเท้ไป ตามปกติจะเกิดพื้นที่ว่างระหว่างช่องฟัน ทำให้เคี้ยวอาหารไม่ดีเท่าที่ควร และอาจทำให้กระดูกยึดฟันสลาย จนเป็นผลให้ฟันข้าง ๆ ล้มและเกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาได้ การทำรากเทียม หรือใส่ฟันปลอมจะเป็นตัวช่วยรักษารากและกระดูกฟันเอาไว้

การใส่รากฟันเทียม เจ็บไหม?

ขณะทำรากฟันเทียมจะมีการใช้ยาชาเฉพาะที่ คนไข้จะไม่มีความรู้สึกเจ็บปวดเลย แต่เจ็บปวดภายหลังการผ่าตัดจะมากน้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะสันกระดูก ปริมาณของกระดูก เนื้อเยื่อเหงือกในบริเวณที่รับการรักษา

ในรายที่มีปริมาณกระดูกเพียงพอ กระดูกมีคุณภาพดี การฝังรากฟันเทียมทำได้ง่าย มีความเจ็บปวดใกล้เคียงกับการถอนฟัน

ใส่รากฟันเทียมจัดฟันได้ไหม?

โดยปกติทันตแพทย์จะแนะนำให้ทำการจัดฟันให้เสร็จก่อน ค่อยมารักษาด้วยการทำรากฟันเทียม เนื่องจากรากฟันเทียมจะไม่มีการเคลื่อนที่ได้เหมือนฟันธรรมชาติ ทำให้ไม่สามารถจัดฟันในตำแหน่งที่ทำรากฟันเทียมได้ แต่ถ้ารากฟันเทียมไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่มีผลต่อการเคลื่อน หรือต้องการให้เคลื่อนฟัน ก็พอจะจัดฟันได้

ทำรากฟันเทียมใช้เวลานานไหม?

การทำรากฟันเทียม จะแบ่งการรักษาเป็น 2 กระบวนการ คือขั้นตอนการผ่าตัดฝังรากเทียม และขั้นตอนการใส่ฟันบนรากเทียม ในอดีต 2 ขั้นตอนนี้จะห่างกันประมาณ 4-6 เดือน แต่ด้วยวิทยาการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน การผ่าตัดฝังรากเทียมในรายที่กระดูกมีคุณภาพดีสามารถใส่ฟันได้ทันที หรือภายหลังการฝังรากฟันเทียมเพียง 2-3 เดือน โดยการระยะเวลาในการรักษาจะแตกต่างกันไปตามปริมาณ และคุณภาพของกระดูกรองรับรากเทียม

รากฟันเทียมอักเสบ ทำยังไงดี?

อุปกรณ์การรักษาที่ติดตั้งอยู่ภายในช่องปาก และปัญหาที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคลอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการรากฟันเทียมอักเสบได้ ผู้ที่เข้ารับการรักษารากฟันเทียมจึงต้องดูแลเอาใจใส่ช่องปากมากเป็นพิเศษ ด้วยการหลีกเลี่ยงของขบเคี้ยวแข็ง ๆ เพื่อลดแรงบดเคี้ยวที่ส่งผลต่อรากฟันเทียม หลีกเลี่ยงอาหารที่ร้อนหรือเย็นจัด เพราะอาจทำให้แผลผ่าตัดหายช้า

ที่สำคัญไม่ควรใช้ฟันกระทบกับสิ่งแปลกปลอม และหลังจากรับประทานอาหารทุกครั้งควรจะบ้วนน้ำเกลือหรือน้ำยาบ้วนปากชนิดอ่อนเพื่อรักษาสุขภาพช่องปาก และไม่เพิ่มแบคทีเรียบริเวณรากฟันเทียม แต่หากเกิดอาการอักเสบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรพบทันตแพทย์ทันที

.caredentalที่มา